| |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Roxb.) Benth.
ชื่อสามัญ : Tuba root, Derris
วงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น : กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ, ไหลน้ำ (ภาคเหนือ) โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 22.5-37.5 ซม. ใบย่อย 9-13 ใบ รูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 7.5-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม หลังใบเกลี้ยงท้องใบมีขน ดอกช่อกระจะ ยาว 22.5-30 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 6 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูประฆังมีขน กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู หายากที่เป็นสีขาว ยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบล่างรูปโล่ เกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว รังไข่มีขนอุย ฝักรุปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 2 ซม. ยาว 3.5-8.5 ซม. ตะเข็บบนแผ่เป็นปีก มีเมล็ด 1-4 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เถาสด แห้ง หรือราก ต้น
สรรพคุณ :
1. ยารักษาเหา หิด
2. ยาสำหรับใช้เบื่อปลา ฆ่าแมลง ไล่แมลง
3. ขับระดูสตรีและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1. รักษาเหา หิด
ใช้เถาสดยาว 2-3 นิ้วฟุต ตำให้ละเอียดผสมน้ำมันพืช ชะโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จึงสระให้สะอาด ควรสระติดต่อกัน 2-3 วัน ให้สะอาดจริงๆ
2. ยาฆ่าแมลง เบื่อปลา
ใช้เถาแก่สด แห้ง หรือจะใช้รากก็ได้ (จำนวนที่ใช้ขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่และแมลง) ทุบให้แตกมากๆ แช่ลงในน้ำ น้ำจะขาวเช่นน้ำซาวข้าว ใช้น้ำนั้น
- ฆ่าแมลง (ซึ่งปลอดภัยต่อผู้ใช้)
- เบื่อปลา (ปลาที่เบื่อโดยวิธีนี้ใช้เป็นอาหารได้)
หมายเหตุ : เนื่องจากสารพิษที่อยู่ในหางไหลนั้น ไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นเช่นคน จึงใช้ได้ดี ทั้งสารนี้สลายตัวได้ง่าย ไม่ติดค้างอยู่บนพืชผัก เหมือนสารสังเคราะห์พวก ดี.ดี.ที.
3. ใช้ผสมกับยาอื่นๆ เป็นยาขับระดูสตรี
ทางจังหวัดสุโขทัย ใช้เถาหางไหลแดงตากแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ดองสุรารับประทานเป็นยาขับและบำรุงโลหิต เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต
|
SPECIAL THANKS
credit : www.rspg.or.th
image credit : yasotaro.com
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น