สมุนไพรไทย | สัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f.
ชื่อสามัญ : Teak
วงศ์ : LABIATAE
ชื่ออื่น : เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่) ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ผลัดใบสูงตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อน ใบ เดี่ยว เรียบตรงข้าม ปลายแหลม โคนมน ยาว 25-40 เซนติเมตร กว้าง 20-30 เซนติเมตร ใบต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก ด้านล่างสีเขียวเข้ม ด้านบนสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนสากมือ มีต่อมเล็ก ๆ สีแดง ขยี้ใบจะมีสีแดงเหมือนเลือด ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล แห้งค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง เมล็ด มี 1-3 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ เนื้อไม้ เปลือก ดอก
สรรพคุณ :
1. ใบ
- รสเผ็ดเล็กน้อย
- รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด
- บำรุงโลหิต รักษาประจำเดือนไม่ปกติ แก้พิษโลหิต
- ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ทำยาอม แก้เจ็บคอ
2. เนื้อไม้
- รสเผ็ดเล็กน้อย
- รับประทานเป็นยา ขับลม ขับปัสสาวะ ได้ดีมาก ใช้แก้บวม
- บำรุงโลหิต แก้ลมในกระดูก แก้อ่อนเพลีย
- แก้ไข้ คุมธาตุ
- ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง
3. เปลือก - ฝาดสมาน
4. ดอก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ใบ - ต้มกับน้ำ รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด
SPECIAL THANKS
credit : www.rspg.or.th
image credit : rd1677.com
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น