สมุนไพรไทย | อัคคีทวาร


สมุนไพร - กลุ่มยา รักษาริดสีดวงทวาร

ifarm_thaiherbs_205
ชื่อวิทยาศาสตร์Clerodendrum serratum  (L.) Moon. var.wallichii  C.B.Clarke
วงศ์Limiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น : ตรีชวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือพรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมาหลัวสามเกียน อัคคี(ภาคกลาง, เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน บางข้อมี 3-4 ใบ เรียงรอบข้อ รูปรียาว โคนใบสอบ ปลายใบเป็นติ่งสั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด  ดอกสีม่วงอ่อนอมฟ้า กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดไม่เท่ากัน ผล รูปค่อนข้างกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ เมล็ดเดี่ยว รูปกลมรี สีดำ

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก

สรรพคุณ :

1. ทั้งต้น - รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน

2. ผล - แก้ไอ แก้โรคเยื่อจักษุอักเสบ

3. ราก - ต้มผสมกับขิง แก้คลื่นเหียน

4. ใบ, ราก, ต้น - ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
     ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

1.นำรากหรือต้นยาว 1-2 องคุลี ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาที่ริดสีดวงทวาร เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวง
2.
นำใบ 10-20 ใบ มาตากแห้ง บดให้เป็นผง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ดขนาดเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2-4.เม็ด ทุกๆ วันติดต่อกัน 7-10 วัน
3.
ใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงงอกทวารหนัก ให้ยุบฝ่อ

     ใช้รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน

ใช้ใบและต้นตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน และพอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง
     ใช้แก้เสียดท้อง
- ใช้ใบต้มรับประทานแก้เสียดท้อง
-
ใช้รากผสมขิง และลูกผักชีต้ม แก้คลื่นเหียน อาเจียน
     แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ
ผลทั้งสุกและดิบ เคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำ แก้ไอ แก้โรคเยื่อตาอักเสบ
     ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ลำต้น ต้มรับประทาน

SPECIAL THANKS

credit : www.rspg.or.th
image credit : herb.ohojunk.com

ไม่มีความคิดเห็น: